ท่ามกลางสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว รูปแบบการออมและการลงทุนมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง มีทางเลือกในการบริหารจัดการเงินอยู่หลากหลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนในตราสารหนี้ ตราสารทุน หรือสกุลเงินดิจิทัล (Cryptocurrency) แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าการฝากเงินไว้กับสถาบันการเงิน ยังคงเป็นช่องทางการออมที่เข้าถึงได้ง่ายและปลอดภัยที่สุด เพื่อให้ประชาชนผู้ฝากเงิน ได้เข้าใจถึงสิทธิของตนเองในการได้รับความคุ้มครองเงินฝาก
ดังนั้น เมื่อการออมเงินไว้กับสถาบันการเงินยังคงสำคัญ สิ่งที่ผู้ฝากเงินควรรู้ คือ ในประเทศไทยมีการคุ้มครองเงินฝากอย่างไร และจะได้เงินคืนหรือไม่เมื่อเกิดวิกฤติการเงิน หรือสถาบันการเงิน ธนาคารเหล่านั้นถูกปิด โดยข้อมูลจากสถาบันคุ้มครองเงินฝาก (สคฝ.) หรือ DPA มีบอกไว้อย่างน่าสนใจ!
รู้จัก พ.ร.บ.สถาบันคุ้มครองเงินฝาก
สถาบันคุ้มครองเงินฝาก จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝาก พ.ศคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. 2551 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 11 สิงหาคม 2551 เป็นต้นมา เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในโครงข่ายความมั่นคงทางการเงิน ร่วมกับกระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทย ในการสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนผู้ฝากเงิน ว่าจะได้รับความคุ้มครองภายใต้กฎหมายคุ้มครองเงินฝาก และได้รับเงินฝากคืนภายในวงเงินที่กำหนดอย่างรวดเร็ว กรณีที่สถาบันการเงินที่อยู่ภายใต้ความคุ้มครองถูกเพิกถอนใบอนุญาต เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดกับผู้ฝาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ฝากรายย่อยที่เป็นผู้ฝากส่วนใหญ่ของประเทศ และบรรเทาความตื่นตระหนกไม่ให้ผู้ฝากพากันไปแห่ถอนเงิน ดังเช่นเหตุการณ์ในอดีตอย่างวิกฤตต้มยำกุ้ง
ไขข้อข้องใจ กับวงเงินคุ้มครองเงินฝาก 1 ล้านบาทคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
ปัจจุบันวงเงินคุ้มครองเงินฝากอยู่ที่ 1 ล้านบาท เริ่มตั้งแต่วันที่ 11 สิงหาคม 2564 เป็นต้นมา ซึ่งเป็นวงเงินที่ได้กำหนดไว้ในมาตรา 53 แห่ง พ.ร.บ.สถาบันคุ้มครองเงินฝาก พ.ศ. 2551และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยจะมีผลเมื่อสถาบันการเงินภายใต้ความคุ้มครองถูกเพิกถอนใบอนุญาต ผู้ฝากสามารถมั่นใจว่าจะได้รับเงินฝากคืนจากสถาบันคุ้มครองเงินฝากในวงเงินสูงสุดตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย โดยวงเงินคุ้มครองจะนับในลักษณะต่อ 1 รายผู้ฝากต่อสถาบันการเงิน 1 แห่ง (ไม่ใช่ต่อ 1 บัญชี)
กรณีที่ผู้ฝากมีหลายบัญชีในสถาบันการเงิน 1 แห่ง จะต้องนำเงินฝาก (เงินต้นและดอกเบี้ย) ในทุกสาขาและทุกบัญชีมาคำนวณทั้งหมด และภายใน 30 วัน หลังจากสถาบันการเงินถูกเพิกถอนใบอนุญาต สคฝ. จะจ่ายเงินคุ้มครองผ่านระบบ PromptPay (พร้อมเพย์) ที่ผูกบัญชีกับเลขประจำตัวประชาชนหรือเลขทะเบียนนิติบุคคล หากไม่ได้ลงทะเบียน PromptPay จะจ่ายคืนด้วยเช็คไปยังที่อยู่ทะเบียนบ้าน หรือจ่ายคืนด้วยวิธีการอื่นตามที่กฎหมายกำหนด ทั้งนี้ สำหรับขั้นตอนการจ่ายคืนเงินให้แก่ผู้ฝากเป็นไปตาม มาตรา 52 และ 53 แห่ง พ.ร.บ. สถาบันคุ้มครองเงินฝาก พ.ศ. 2551
ปัจจุบัน การฝากเงินในบัญชีเงินฝากธนาคารอาจไม่ใช่ทางเลือกในการลงทุนอันดับต้น ๆ เพราะทุกคนมีวัตถุประสงค์ในการออมเงินแตกต่างกันไป ทั้งเป้าหมายระยะสั้นและระยะยาว ยิ่งในยุคปัจจุบันที่มีทางเลือกในการลงทุนมากมายนอกเหนือจากการฝากเงิน แต่ไม่ว่าจะเลือกลงทุนด้วยวัตถุประสงค์ใด ก็ควรวางแผนทางการเงินอย่างรอบคอบ รวมถึงนำปัจจัยต่าง ๆ มาพิจารณาควบคู่กับอัตราดอกเบี้ยที่จะได้รับเพื่อประโยชน์สูงสุด.
(ข้อมูล : สถาบันคุ้มครองเงินฝาก)