รายงานข่าวจากกรมทางหลวง (ทล.) แจ้งว่า ตามที่นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง ประชุมหารือกับนายสอนไซ สีพันดอน นายกรัฐมนตรี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) เมื่อวันที่ 30 ต.ค. ที่ผ่านมา เตรียมผลักดันโครงการสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 6 (อุบลราชธานี-สาละวัน) ขณะนี้ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องในหลักการแล้ว เพื่อให้ดำเนินการสร้างโครงข่ายคมนาคมขนส่งทั้งสองประเทศอย่างต่อเนื่อง ซึ่งปัจจุบันทั้งสองประเทศอยู่ระหว่างก่อสร้างโครงการสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 5 (บึงกาฬ-บอลิคำไซ) คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 67
สำหรับความคืบหน้าโครงการสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 6 (อุบลราชธานี-สาละวัน) ได้ศึกษาความเหมาะสมและออกแบบเสร็จแล้ว ไทย กับ สปป.ลาว อยู่ระหว่างการเจรจาเรื่องสัดส่วนค่าก่อสร้างของแต่ละประเทศ คาดว่าจะได้ข้อสรุปภายในปี 66 จากนั้นจะเสนอโครงการให้กระทรวงคมนาคมพิจารณา ก่อนเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบ เพื่อเตรียมเสนอขอรับจัดสรรงบประมาณก่อสร้างในปี 68 แล้วเสร็จในปี 71 ระยะเวลาก่อสร้าง 3 ปี
โครงการสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่ง 6 (อุบลราชธานี-สาละวัน) วงเงินลงทุนทั้งหมด 5,097ล้านบาท แบ่งเป็นค่าก่อสร้าง 4,696 ล้านบาท ประกอบด้วย ค่าก่อสร้าง 4,546 ล้านบาท ประกอบด้วย ส่วนที่ 1 งานถนนและอาคารด่านฝั่งไทย 1,380 ล้านบาท ส่วนที่ 2 งานสะพานข้ามแม่น้ำ 1,896 ล้านบาท ส่วนที่ 3 งานถนนและอาคารด่านฝั่ง สปป.ลาว 1,270 ล้านบาท และค่าควบคุมงานทั้งโครงการ 150 ล้านบาท นอกจากนี้มีค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน (ค่าเวนคืน) ฝั่งไทย 401 ล้านบาทคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
โครงการมีความยาวสะพานรวม 1,607 เมตร ก่อสร้างตัวสะพานยาว 1,020 เมตร และงานทางลาดลงจากตัวสะพาน ความยาวฝั่งไทย 517 เมตร ฝั่งลาว 70 เมตร สะพานขนาด 2 ช่องจราจร ไป-กลับ เพื่อเชื่อมโยงทางหลวงหมายเลข 2112 (ไทย) กับทางหลวงหมายเลข 13 (สปป.ลาว) อ.นาตาล (ไทย)-เมืองละครเพ็ง (สปป.ลาว) มีถนนฝั่งไทย 4.325 กม. ขนาด 4 ช่องจราจร ไป-กลับ,ถนนฝั่งลาว 17.509 กม. ขนาด 2 ช่อง ไป-กลับ มีอาคารด่าน (BCF)ในไทยและ สปป.ลาว รวมทั้งจุดเปลี่ยนทิศทางการจราจรอยู่ในฝั่งไทย
นอกจากนี้มีรูปแบบการก่อสร้างประกอบด้วย 1.วงเวียนฝั่งประเทศไทย กำหนดรูปแบบการควบคุมทางแยกเป็นวงเวียนขนาดใหญ่ มีประติมากรรมดอกบัวบริเวณวงเวียน เพื่อดึงดูดสายตาให้กับผู้ใช้รถใช้ถนนให้ทราบว่ามีทางแยก โดยจัดให้มี 2 แห่ง คือ วงเวียนตัดกับทางหลวงหมายเลข 2112 และวงเวียนหน้าด่านอุบลราชธานี 2.ด่านอุบลราชธานี เป็นอาคารที่มีการผสมผสานกันระหว่างพื้นที่ใช้สอยของผู้ข้ามแดนและสินค้าข้ามแดน โดยใช้สัญลักษณ์ดอกบัวซึ่งเป็นดอกไม้ประจำ จ.อุบลราชธานี เป็นรูปแบบของด่านพรมแดน 3.จุดสลับทิศทางจราจร เป็นถนนขนาด 1 ช่องจราจร ผิวทางลาดยางกว้าง 1 เมตร เพื่อปรับทิศทางการขับขี่ที่แตกต่างกันระหว่างไทย และ สปป.ลาว
4.เชิงลาดสะพานฝั่งประเทศไทย ออกแบบโดยใช้ประติมากรรมรูปช้าง ซึ่งเป็นสัตว์ประจำชาติไทยในลักษณะยินดีต้อนรับแด่แขกผู้มาเยือนจากต่างแดน 5.เสาไฟฟ้าใช้รูปแบบที่สื่อถึงต้นไม้ แสดงถึงความอ่อนน้อมถ่อมตนและแผ่ใบไม้เพื่อให้ร่มเงาแสดงถึงมิตรที่ให้ซึ่งกันและกัน โดยรวมแล้วหมายถึงความยินดีต้อนรับเข้าสู่ประเทศ 6.สะพานข้ามแม่น้ำโขง เป็นสะพานแบบโค้ง (Arch Bridge)ขนาด 2 ช่องทางจราจร ขนาดช่องจราจรละ 3.50 เมตร ไหล่ทางข้างละ 2.00 เมตร แบ่งทิศทางจราจรด้วยแถบกลางกว้าง 1.20 เมตร พร้อมทางเท้าขนาด 1.25 เมตร ทั้งสองฝั่งเส้นโค้งของสะพาน เปรียบเสมือนเส้นภูเขาและเกลียวคลื่นที่อ่อนโยนที่เชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยและ สปป.ลาว เข้าด้วยกัน สะพานสีขาวเปรียบเสมือนความบริสุทธิ์ของมิตรภาพที่มีต่อกันมาอย่างยาวนาน
7.ลานพักผ่อนริมแม่น้ำโขง เป็นพื้นที่กิจกรรมอเนกประสงค์ทั้งสองฝั่งแม่น้ำ เพื่อสาธารณประโยชน์และชมทัศนียภาพโดยรอบของตัวสะพาน 8.เชิงสะพานฝั่ง สปป.ลาว ประติมากรรมบริเวณเชิงลาดสะพานฝั่ง สปป.ลาว เป็นซุ้มประตูรูปแคนคู่ เครื่องดนตรีประจำชาติ สปป.ลาว 9.ด่านสาละวันเป็นอาคารผสมผสานกันระหว่างพื้นที่ใช้สอยของผู้ข้ามแดนและสินค้าข้ามแดน โดยใช้รูปปั้นช้าง 3 เชือก เป็นรูปแบบของด่านพรมแดน และ 10.วงเวียนฝั่ง สปป.ลาว ออกแบบมีประติมากรรมรูปปั้นช้าง เพื่อดึงดูดสายตาให้กับผู้ใช้รถใช้ถนนให้ทราบว่ามีทางแยก จัดให้มี 3 แห่ง คือ วงเวียนก่อนเข้าสู่ด่านสาละวันจากสะพานข้างแม่น้ำโขง วงเวียนหน้าด่านสาละวันในทิศทางจากบ้านปากตะพาน แขวงละครเพ็ง สปป.ลาว และวงเวียนบริเวณทางแยกจุดตัดทางเส้นทางโครงการกับทางหลวงหมายเลข 11 คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 6 เชื่อมโยงระหว่าง จ.อุบลราชธานี กับแขวงสาละวัน เกิดการคมนาคมขนส่งสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย สนับสนุนการส่งออกสินค้าจากประเทศไทยไปเมืองละครเพ็ง แขวงสาละวัน สปป.ลาว ปัจจุบันขนส่งทางเรือผ่านด่านพรมแดนบ้านปากแซง จ.อุบลราชธานี ส่งเสริมการขนส่งสินค้าระหว่างสองประเทศ พัฒนาเศรษฐกิจ การค้าระหว่างประเทศ ให้มีประสิทธิภาพและลดต้นทุนขนส่ง รวมถึงเชื่อมโยงการขนส่งไปท่าเรือดานัง ประเทศเวียดนาม และประเทศจีน