เปิดตัวเลขการส่งออกของไทยในเดือนมิถุนายน 2566 พบว่า มีมูลค่า 24,826.0 ล้านเหรียญสหรัฐ (848,927 ล้านบาท) หดตัวร้อยละ 6.4 ขณะที่การส่งออกไทยครึ่งแรกของปี 2566 หดตัวร้อยละ 5.4
ผลไม้ไทยอันดับ 1 ส่งออก ครองตลาดจีน 41.3% เล็งขยายตลาดระดับมณฑล
ส่องแรงหนุนเศรษฐกิจไทย เงินเฟ้อลงต่อเนื่อง คาดทั้งปีโต 3.5%
ภาวะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้ายังคงซบเซาจากแรงกดดันด้านอัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับสูง ทำให้การผลิตและการบริโภคยังคงตึงตัว ขณะที่การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของตลาดจีนค่อนข้างช้ากว่าที่คาด
นอกจากนี้ คู่ค้าส่วนใหญ่ชะลอการสั่งซื้อสินค้าจากผลกระทบของการหดตัวทางด้านอุปสงค์ มีการเร่งระบายสินค้าคงคลังมากขึ้น ส่งผลให้คำสั่งซื้อและการผลิตภาคอุตสาหกรรมลดลง
แต่ยังคงมีปัจจัยบวกจากค่าเงินบาทอ่อนค่า ช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของผู้ส่งออกในระยะนี้ และกระแสความมั่นคงทางอาหารทำให้สินค้าบางรายการยังขยายตัวดี เช่น ไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง ผักกระป๋อง และผักแปรรูป ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็งและแห้ง ไข่ไก่ ซาร์ดีนกระป๋อง น้ำตาลทราย เป็นต้น
มูลค่าการค้าในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐ
เดือนมิถุนายน 2566 การส่งออก มีมูลค่า 24,826.0 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 6.4 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 24,768.4 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 10.3 ดุลการค้า เกินดุล 57.7 ล้านเหรียญสหรัฐคำพูดจาก สล็อตทรูวอเลท
ภาพรวมครึ่งแรกของปี 2566 การส่งออก มีมูลค่า 141,170.3 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 5.4 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 147,477.9 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 3.5 ดุลการค้าครึ่งแรกของปี 2566 ขาดดุล 6,307.6 ล้านเหรียญสหรัฐ
แนวโน้มการส่งออกในระยะถัดไปในช่วงครึ่งปีหลัง
นายกีรติ รัชโน ปลัดกระทรวงพาณิชย์ มองว่า จะฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป แม้ว่าจะยังมีความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า โดยเศรษฐกิจจีนฟื้นตัวได้ช้ากว่าที่ตลาดคาดการณ์ จากการบริโภคและการลงทุนที่ยังอ่อนแอ เศรษฐกิจยุโรปเปราะบางจากอุปสงค์ภายในและตลาดแรงงานที่อ่อนแอ โดยเฉพาะตลาดเยอรมนี ฟินแลนด์ และเดนมาร์ก ที่มีระดับค่าครองชีพสูง ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจลดลง
ขณะที่การถอนตัวจากข้อตกลง Black Sea Grain Initiative ของรัสเซีย และปัญหาภัยแล้งจากปรากฎการณ์เอลนีโญ สร้างความกังวลต่อการตึงตัวของอุปทานอาหารโลก ซึ่งอาจจะกระทบต่อเงินเฟ้อและกำลังซื้อของประเทศคู่ค้า
ปัจจัยสนับสนุนการส่งออก เปิดตลาดศักยภาพ-เงินบาทอ่อนค่า
มาจากการเร่งเปิดตลาดศักยภาพเพื่อกระจายความเสี่ยงและลดผลกระทบจากการชะลอตัวของตลาดส่งออกหลัก เช่น ตะวันออกกลาง ลาตินอเมริกา และแอฟริกา
นอกจากนี้ เงินบาทที่มีแนวโน้มอ่อนค่าต่อเนื่องเป็นผลดีต่อผู้ประกอบการส่งออกสินค้าของไทย และความกังวลต่อการขาดแคลนอาหารทั่วโลกอาจเป็นปัจจัยผลักดันให้มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นจากปัจจัยด้านราคาเป็นสำคัญ