ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “อาสาสมัครช่วยเหลือสังคมกับนักร้องเรียน” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 30 มกราคม – 1 กุมภาพันธ์ 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับอาสาสมัครช่วยเหลือสังคมกับนักร้องเรียน
นิด้าโพล เผย ประชาชน 35.19% ไม่ค่อยเชื่อมั่นข่าวการปฏิบัติงานของตำรวจ
นิด้าโพลเผยผลสำรวจเรื่อง “เหนื่อยหน่ายกับอะไรบ้าง ในปี 2566 ที่ผ่านมา”
การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น 97%คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
จากการสำรวจเมื่อถามความคิดเห็นของประชาชนต่อปรากฏการณ์ข่าวผู้เดือดร้อนหรือผู้ที่เป็นเหยื่ออาชญากรรม เข้าขอความช่วยเหลือจากอาสาสมัครช่วยเหลือสังคม พบว่า
- 55.50% ระบุว่า ผู้เดือดร้อนต้องการได้รับความเป็นธรรม
- 50.38% ระบุว่า ผู้เดือดร้อนต้องการความรวดเร็วในการแก้ไขปัญหา
- 39.69% ระบุว่า ต้องเป็นข่าวหน่วยงานราชการ และ/หรือเจ้าหน้าที่รัฐ ถึงจะใส่ใจติดตามช่วยเหลือผู้เดือดร้อน
- 35.04% ระบุว่า หน่วยงานราชการ และ/หรือเจ้าหน้าที่รัฐ ไม่ใส่ใจติดตามช่วยเหลือผู้เดือดร้อน
- 31.07% ระบุว่า ผู้เดือดร้อนที่หมดหวังกับหน่วยงานรัฐ และ/หรือเจ้าหน้าที่รัฐ
- 16.49% ระบุว่า อาสาสมัครช่วยเหลือสังคมน่าไว้ใจมากกว่า หน่วยงานรัฐ และ/หรือเจ้าหน้าที่รัฐ
- 9.92% ระบุว่า อาจมีผลประโยชน์บางอย่างแอบแฝงอยู่
- 8.40% ระบุว่า เป็นการเสริมสร้างชื่อเสียง อำนาจ บารมีของอาสาสมัครช่วยเหลือสังคมบางคน
- 7.33% ระบุว่า อาสาสมัครช่วยเหลือสังคมบางคนเป็นเครื่องมือทางการเมืองของบางคนหรือบางกลุ่ม
- 6.64% ระบุว่า เป็นปรากฏการณ์หิวแสงของอาสาสมัครช่วยเหลือสังคมบางคน
- 0.31% ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ท้ายที่สุดเมื่อถามความคิดเห็นของประชาชนต่อปรากฏการณ์ข่าวนักร้องเรียนที่ตรวจสอบหรือกล่าวหาหน่วยงานรัฐ เจ้าหน้าที่รัฐ นักการเมือง พรรคการเมือง พบว่า
- 48.55% ระบุว่า อาจมีผลประโยชน์บางอย่างแอบแฝงอยู่
- 28.85% ระบุว่าเป็นการเสนอความจริงต่อสังคม
- 25.65% ระบุว่า เป็นปรากฏการณ์หิวแสงของนักร้องเรียนบางคน
- 20.76% ระบุว่า เป็นการเสริมสร้างชื่อเสียง อำนาจ บารมีของนักร้องเรียนบางคน
- 20.08% ระบุว่า เป็นการดำเนินการทางการเมืองอย่างหนึ่ง
- 19.31% ระบุว่า นักร้องเรียนเป็นอาชีพอย่างหนึ่ง
- 17.33% ระบุว่า เป็นการตรวจสอบ/กล่าวหาจากภาคประชาชน
- 15.50% ระบุว่า หน่วยงานรัฐ เจ้าหน้าที่รัฐ นักการเมือง พรรคการเมือง ต้องทำงานด้วยความระมัดระวังมากขึ้น
- 15.19% ระบุว่า ต้องเป็นข่าวหน่วยงานที่เกี่ยวข้องถึงจะใส่ใจตรวจสอบ/กล่าวหา
- 8.47% ระบุว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ทำงานเชิงรุกในการตรวจสอบ/กล่าวหา
- 7.10% ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่าง 8.55% มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ 18.55% มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง 18.01% มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ 33.44% มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 13.74% มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ และ 7.71% มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออก ตัวอย่าง 48.09% เป็นเพศชาย และ 51.91% เป็นเพศหญิง ตัวอย่าง 12.90% อายุ 18-25 ปี 17.79% อายุ 26-35 ปี 18.93% อายุ 36-45 ปี 26.64% อายุ 46-59 ปี และ 23.74% อายุ 60 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง 96.26% นับถือศาสนาพุทธ 3.13% นับถือศาสนาอิสลาม และ 0.61% นับถือศาสนาคริสต์และศาสนาอื่น ๆ ตัวอย่าง 36.41% สถานภาพโสด 60.00% สมรส และ 3.59% หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ ตัวอย่าง 24.81% จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า 34.50% จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า 8.85% จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า 27.18% จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และ 4.66% จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
ตัวอย่าง 9.69% ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ 17.56% ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน 18.62% ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ 11.53% ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง 15.42% ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน 21.76% เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน และ 5.42% เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ตัวอย่าง 23.67% ไม่มีรายได้ 18.70% รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท 27.56% รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท 9.92% รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท 4.50% รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-40,000 บาท 4.28% รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และ 11.37% ไม่ระบุรายได้